Research and Development

T.C. Natural Research Institure of Biotechnology Laboratory


สถาบันวิจัย ที.ซี. แนลเชอรัล เทคโนโลยี ชีวภาพ ได้รับการรับรองดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง สำหรับห้องปฏิบัติการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และข้อกำหนดเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสำหนักงานมาตรฐานห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 หมายเลขทะเบียน 1168/52




หนึ่งในความภาคภูมิใจ ดร.วันชัย วรวัฒนเมธีกุล กับผลงานวิจัยที่ใช้เวลานานถึง 7 ปีจนสามารถสกัดสารจากน้ำมันปลาทูน่า ที่เป็นสรรพคุณช่วยยับยั้งการเกิดโรคได้สารพัด รวมทั้งโรคฮิต "อัลไซ-เมอร์" ด้วย
โดย บริษัท ที.ซี. ยูเนี่ยน อโกรเทค จำกัด เป็นผู้ให้ทุนในการวิจัยตลอดระยะเวลา 7 ปี และปัจจุบันได้ทำการจดลิขสิทธิ์ในชื่อการค้าว่า "O-Mex 3"

บริษัทมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยที่พร้อมพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในทุกด้าน ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ นโยบายหลักของบริษัทในการเลือกแหล่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ชั้นยอดจากประเทศที่มีเทคโนโลยีและเป้นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและต้องเป็นเกรด A ที่ดีที่สุดเท่านั้น เช่น ญี่ปุ่น , สวิตเซอร์แลนด์ , นอร์เวย์ , อิตาลี , ฝรั่งเศส และอเมริกา เป็นต้น ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญสำหรับการผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท

สถาบันวิจัย ที.ซี. แนลเชอรัล เทคโนโลยี ชีวภาพ ที่ได้รับการรับรอง ISO 17025 ในงานวิเคราะห์ Omega 3 ในน้ำมันปลาเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทย"
และออร์โท แคลเซียม (แคลเซียมจากกระดูกปลาทูน่า) นวัตกรรมการวิจัยหนึ่งเดียว ที่เป็นเอกสิทธิ์ของสถาบันวิจัย ที.ซี. แนลเชอรัล เทคโนโลยี ชีวภาพ ประเทศไทย

รายการที่ได้รับรอง ISO/IEC 17025:2005

  • Fatty acid composition (Omega-3 fatty acid)*
  • Amino acids profile
  • Coenzyme Q10
  • Caffeine Hexane
  • %Juice
  • Glutathione
  • Acidity


Information


เทคโนโลยีชีวภาพ คือ อะไร / What is biotechnology ?

เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านต่างๆของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิตหรือทางกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น

โดยทาง United Nations Convention on Biological Diversity ได้ให้นิยามของ เทคโนโลยีชีวภาพ ไว้ว่า “Any technological application that uses biological systems, living organisms, or derivatives thereof, to make or modify products or processes for specific use.” ”การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆมาใช้กับ ระบบทางชีวภาพ หรือ สิ่งมีชีวิต(ที่มีชีวิตอยู่) หรือ สิ่งที่ได้จากระบบทางชีวภาพและสิ่งมีชีวิต เพื่อที่ทำการสร้างหรือปรับปรุงแก้ไข ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องเฉพาะด้าน”


ที่มา http://www.thaibiotech.info/tag/เทคโนโลยีชีวภาพ

ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ

1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า

2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ

3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย

4.เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต


ที่มา http://www.thaibiotech.info/applications-of-biotechnology.php

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

โดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG


ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์โดย Glutathione synthase โดยการใช้กรดอะมิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • การป้องกันระบบประสาท


การลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัดอย่างเฉียบพลันในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้านี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและเสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็นผลใน tissue oxidative stress สามารถเกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลงกัน
  • Oxidative stress เป็นสาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes


ข้อบ่งใช้และการใช้ประโยชน์

  • รักษาพิษจากยาพาราเซตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบาหวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร


ผลข้างเคียง

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์


ข้อห้ามและควรระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลูต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด


สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol


ที่มา http://http://glutacare.com/glutathione-กลูต้าไธโอนคืออะไร/